ผลสำรวจชี้ เกิดสงครามในรัฐชาติพันธุ์มากขึ้น หลังจัดประชุมป๋างโหลง เหตุความเห็นกองทัพพม่าและชาติพันธุ์ไม่ตรงกัน ….ที่มา : สำนักข่าวชายขอบ

สำนักข่าว Burma News International (BNI) ได้ออกรายงานชื่อ “2016 Peace Process Reference Guide” ชี้ว่า เกิดสงครามความขัดแย้งมากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่จัดประชุมใหญ่ “ป๋างโหลง” เมื่อเดือนสิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา และกระบวนการสร้างสันติภาพพม่าอ่อนแอลงนับตั้งแต่ปี 2559 โดยภาพรวม กลุ่มชาติพันธุ์ในพม่ายังคงถูกทอดทิ้งโดดเดี่ยว นายไน คาซอก มอญ ผู้อำนวยการ สำนักข่าว BNI ระบุว่า การประชุมใหญ่ป๋างโหลงที่ผ่านมา ทางกองทัพพม่าและชาติพันธุ์ต่างเรียกร้องในเรื่องที่อีกฝ่ายไม่เห็นด้วย โดยยกตัวอย่างให้เห็นว่า กองทัพพม่าต้องการที่จะจัดตั้งระบอบสหพันธรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2551 ในขณะที่กลุ่มชาติพันธุ์ไม่ต้องการระบอบสหพันธรัฐภายใต้รัญธรรมนูญปี 2551 โดยความเห็นที่ขัดแย้งกันได้เกิดขึ้นที่ประชุม จึงเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งและสงครามมากขึ้นหลังจากนั้น โดย นายไน คาซอก มอญ ยังกล่าวยกตัวอย่างเหตุการณ์กองทัพพม่ายึดฐานที่มั่นกองทัพเอกราชคะฉิ่น KIA หลายแห่ง รวมไปถึงกลุ่มพันธมิตรทางเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วยทหารคะฉิ่น KIA ปะหล่อง TNLA และโกก้าง MNDAA  ได้โจมตีเมืองหมู่เจ้ ทางเหนือรัฐฉาน

โดยในรายงาน ” 2016 Peace Process Reference Guide” ได้รวบรวมเอาเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปี 2559  เช่นการทำสงคราม การเจรจาสันติภาพ สถานการณ์ผู้พลัดถิ่นภายในและผู้ลี้ภัย กลุ่มองค์กรติดอาวุธชาติพันธุ์ กระบวนการสันติภาพภายใต้รัฐบาล NLD เป็นต้น ทางด้าน Mai Cherry Zahau นักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนได้ตั้งข้อสังเกตว่า ปัจจุบันนี้ พบเห็นกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธมักจะถูกเรียกว่าเป็นกลุ่มกบฏบ่อยขึ้น และแสดงความเห็นว่า ทุกอย่างดูเหมือนจะถอยลงคลอง และหากมองดูจากทุกฝ่ายดูเหมือนจะไม่มีใครยืนอยู่ข้างคนชาติพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอย่างเช่น กลุ่ม KNU แม้จะลงนามหยุดยิงไปแล้ว แต่ในรัฐกะเหรี่ยงเองหรือพื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงพื้นที่ควบคุมของ KNU ยังต้องเผชิญปัญหาหลายด้านเช่น ปัญหาการสู้รบ โครงการธุรกิจ อนาคตที่ไม่แน่นอนของผู้พลัดถิ่นภายในและผู้ลี้ภัย เช่นเดียวกับสื่อมวลชนที่อยู่ในเขตชาติพันธุ์ก็ไม่ได้รับการรับรองในด้านความปลอดภัยจากองค์กรติดอาวุธในการนำเสนอข่าว ที่มา Karen News แปลและเรียบเรียงโดย สำนักข่าวชายขอบ

ขอขอบคุณแหล่งข่าวจาก : สำนักข่าวชายขอบ : Link>>> http://transbordernews.in.th/home/?p=16134 .

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *