พม่าดันแผนสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำ 38 โครงการ ธนาคารโลกหนุนสุดตัว เครือข่ายสิ่งแวดล้อมประท้วงระบุอาจกลายเป็นประเด็นอื้อฉาว เหตุอยู่ในพื้นที่สู้รบ เสนอให้ได้ข้อตกลงสันติภาพแท้จริงก่อน ….ที่มา : สำนักข่าวชายขอบ :

received_1328312067212075-768x512

Screenshot_20170127-200849_1

แม่น้ำสาละวินบริเวณใกล้หัวงานเขื่อนกุ๋นโหลง โดย Burma Rivers Network เมื่อวันนี้ 27 มกราคม 2560 ที่ห้องประชุมปะเต่ง โรงแรมโนโวเทล กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation – IFC) ซึ่งเป็นหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชนของธนาคารโลก (World Bank) จัดประชุมเรื่องการศึกษาเชิงยุทธศาสตร์สำหรับไฟฟ้าพลังน้ำในพม่า โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 140 คน ทั้งนี้ผู้แทนกระทรวงไฟฟ้าและพลังงานของรัฐบาลพม่ากล่าวว่า ปัจจุบันพม่ามีประชากร 51.4 ล้านคนและมีศักยภาพในการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำในทุกรัฐและภาค ซึ่งปัจจุบันมีเขื่อนและโรงไฟฟ้า เช่น โรงไฟฟ้าบาลูชอง 2 แห่ง ในรัฐคะยา และแห่งอื่น ๆ ซึ่งไม่ใหญ่มาก เป็นการลงทุนโดยรัฐเอง สำหรับแผนที่จะดำเนินการในอนาคต จะมีเขื่อนขนาดใหญ่ 38 โครงการจะมาจากการลงทุนจากต่างชาติ รวมกำลังผลิตราว ๆ 39,000 เมกะวัตต์ เป็นโครงการลงทุนร่วมและสัมปทาน (JV/BOT) สำหรับโครงการที่อยู่ในแผน ในลุ่มน้ำสาละวิน หรือ ตานลวิน ขณะนี้รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

ของเขื่อนเขื่อนกุ๋นโหลง กำลังผลิตติดตั้ง 1,400 เมกกะวัตต์ (MW) ได้รับอนุมัติแล้ว ได้พบกับชุมชนในพื้นที่เขื่อน สำหรับอีไอเอเขื่อนฮัตจี ทำโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ได้รับแล้วแต่ยังไม่อนุมัติ โดยหากมองภาพรวมปัจจุบัน 37% ของครัวเรือนในพม่าเข้าถึงไฟฟ้า ที่เหลือไม่สามารถเข้าถึงไฟฟ้าได้   บรรยากาศการประชุมเรื่องการศึกษาเชิงยุทธศาสตร์สำหรับไฟฟ้าพลังน้ำในพม่า ทางด้านเครือข่ายแม่น้ำพม่า (Burma Rivers Network – BRN) และเครือข่ายรักษ์แม่น้ำสาละวิน (Save the Salween Network – SSN) ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการประชุมดังกล่าว โดยระบุว่า IFC มีแผนจัดการประชุมในย่างกุ้ง มิตจีนา (รัฐคะฉิ่น) และลอยก่อ (รัฐคะเรนนี) เริ่มในวันนี้ การประชุมนี้มีขึ้นเป็นเพียงแนวทางล่าสุดของนักลงทุนระหว่างประเทศ ที่ต้องการสนับสนุนโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดใหญ่ในแม่น้ำของพม่า ซึ่งตรงข้ามกับต้องการของชุมชนในท้องถิ่นที่กำลังมีชีวิตอยู่ท่ามกลางสงครามระหว่างกองกำลังชาติพันธุ์และกองทัพพม่า แถลงการณ์ระบุว่า บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ เป็นองค์กรสาขาหนึ่งของธนาคารโลก ซึ่งให้ทุนสนับสนุนภาคเอกชน ในครั้งนี้ได้ร่วมเป็นผู้สนับสนุนเงินทุนการจัด “การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อการประเมินขั้นพื้นฐานโดยกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลาย” ทั้งนี้เป็นไปตามแผนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ของภาคไฟฟ้าพลังน้ำของพม่า เครือข่ายแม่น้ำพม่าและเครือข่ายรักษ์แม่น้ำสาละวินขอคัดค้าน ความพยายามของหน่วยงานที่จะผลักดันเขื่อนในประเทศ ในขณะที่สงครามความขัดแย้งยังเกิดขึ้นในพื้นที่ตามชายฝั่งแม่น้ำสายหลักของพม่า กล่าวคือ กองทัพพม่ายังคงมีปฏิบัติการโจมตีและการปฏิบัติมิชอบ ส่งผลให้ประชาชนกลุ่มชาติพันธุ์หลายแสนคนต้องพลัดถิ่นฐาน และถูกปฏิเสธที่จะมีสิทธิตามรัฐธรรมนูญในการตัดสินใจเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเอง แถลงการณ์ระบุด้วยว่า เครือข่ายแม่น้ำพม่าและเครือข่ายรักษ์แม่น้ำสาละวินขอแสดงเจตนารมณ์ในการคัดค้านกระบวนการ ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งการของสถาบันการเงินระหว่างประเทศ และเพื่อประโยชน์ของบรรษัทที่มุ่งเพื่อส่งเสริมการส่งออกพลังงานให้กับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ไทยและจีน เพื่อสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ แทนที่จะมุ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้ประชาชนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังไม่สามารถมีไฟฟ้าใช้ในระดับครัวเรือน ชุมชนต่าง ๆ ทั่วประเทศได้ส่งเสียงคัดค้านการสร้างเขื่อนต่าง ๆ ทั้งในแม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำสาละวิน เนื่องจากมีความกังวลต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการเมือง อันจะเป็นผลสืบเนื่องมาจากการสร้างเขื่อนในแม่น้ำเหล่านี้ และมีการจัดทำรายงานหลายฉบับโดยกลุ่มชาติพันธุ์ในระดับพื้นที่ ผลกระทบสะสมจากโครงการเขื่อนในแม่น้ำอิระวดีและแม่น้ำสาละวิน จะทำให้เกิดต้นทุนที่ไม่สามารถประเมินค่าได้ต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติในลุ่มน้ำขนาดใหญ่ทั้งสองแห่งนี้ ผู้ที่ควรสามารถกำหนดชะตากรรมของแม่น้ำในพม่า ควรเป็นผู้ที่ต้องพึ่งพาแม่น้ำเหล่านี้ต่างหาก “การผลักดันโครงการในพื้นที่ที่มีสงครามความขัดแย้ง จะยิ่งนำไปสู่สงครามความขัดแย้ง และตรงกันข้ามกับข้ออ้างของรัฐบาลพรรค NLD ที่บอกว่า ต้องการส่งเสริมความเป็นสหพันธรัฐที่เป็นประชาธิปไตย” มีอาชัย (Mi Ah Chai) สมาชิกเครือข่ายเยาวชนมอญ กล่าว เครือข่ายแม่น้ำพม่าและเครือข่ายรักษ์แม่น้ำสาละวินจึงขอเรียกร้องให้มีความตกลงชั่วคราวเพื่อยุติการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ทุกเขื่อนในแม่น้ำสายต่าง ๆ ของพม่า จนกว่าสงครามความขัดแย้งจะยุติลง และมีการกระจายอำนาจตามแนวคิดสหพันธรัฐที่เป็นประชาธิปไตยต่อไป สงครามความขัดแย้งที่ยังดำรงอยู่และการที่ยังไม่มี “ความตกลงสันติภาพที่เป็นเอกภาพ” อย่างแท้จริงและยั่งยืน ส่งผลให้แผนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ของภาคไฟฟ้าพลังน้ำในปัจจุบันของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ ไม่เพียงขาดความชอบธรรม แต่ยังกลายเป็นประเด็นอื้อฉาวอย่างยิ่ง เนื่องจากพื้นที่ซึ่งเป็นพื้นที่เป้าหมายสำคัญของการพัฒนาไฟฟ้าพลังน้ำ ล้วนแต่เป็นพื้นที่ซึ่งเป็นเป้าหมายการสู้รบของกองทัพพม่าแทบทั้งสิ้น เครือข่ายแม่น้ำพม่าและเครือข่ายรักษ์แม่น้ำสาละวิน เป็นตัวแทนของกลุ่มชาติพันธุ์คะฉิ่น คะเรนนี ไทใหญ่ มอญ กูกี อาระกัน ปะโอ ดาระอัง ละหู่ อาข่า องค์กรภาคประชาสังคมและกลุ่มเยาวชนอื่น ๆ ในรัฐกลุ่มชาติพันธุ์ของพม่า พวกเรามีพันธกิจที่จะคุ้มครองและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของแม่น้ำและชุมชนที่ต้องพึ่งพาแม่น้ำเหล่านี้ ในครั้งนี้ พวกเรา ขอเรียกร้องให้ 1. ให้จัดทำ“ความตกลงสันติภาพที่เป็นเอกภาพ” อย่างแท้จริงและยั่งยืน ซึ่งได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศ ซึ่งควรเกิดขึ้นก่อนที่จะมีการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ของภาคไฟฟ้าพลังน้ำ 2. เครือข่ายแม่น้ำพม่าและเครือข่ายรักษ์แม่น้ำสาละวิน ไม่คัดค้านการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ แต่เราเรียกร้องให้ชะลอกระบวนการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันออกไป เพราะเป็นการรวมศูนย์อำนาจภายใต้กระทรวงพลังงานและไฟฟ้าเท่านั้น และยังมีการเพิกเฉยต่อข้อกังวลและสิทธิขององค์กรภาคประชาสังคม องค์กรระดับชุมชน องค์กรชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ 3. การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเชิงยุทธศาสตร์ใด ๆ ต้องได้รับการออกแบบ วางแผนและดำเนินการอย่างมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของ โดยองค์กรภาคประชาสังคม องค์กรระดับชุมชน องค์กรชุมชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ในฐานะประชาชนผู้อยู่กับทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นมาช้านาน —————- SHARE.

ขอขอบคุณแหล่งข่าวจาก  : สำนักข่าวชายขอบ : Link>>> http://transbordernews.in.th/home/?p=15930 .

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *