เดินหน้าพัฒนาสถานะผู้เฒ่าไร้สัญชาติ อยู่เมืองไทยแล้ว 30-40 ปี แต่ยังไร้บัตรประชาชน อำเภอแม่จันเร่งรัดนำร่อง กลุ่มผู้สูงอายุไทลื้อทดสอบเกณฑ์การสื่อสาร. ….ที่มา : สำนักข่าวชายขอบ : Link>>> http://transbordernews.in.th/home/?p=15290 .

 

 

received_1274008409309108-768x432

เดินหน้าพัฒนาสถานะผู้เฒ่าไร้สัญชาติ อยู่เมืองไทยแล้ว 30-40 ปี แต่ยังไร้บัตรประชาชน อำเภอแม่จันเร่งรัดนำร่อง กลุ่มผู้สูงอายุไทลื้อทดสอบเกณฑ์การสื่อสาร. 0 BY ADMIN ON 1 ธันวาคม, 2016 ในประเทศ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2559 นายอริยะ เพ็ชร์สาคร ผู้ประสานงานฝ่ายกฎหมาย มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา(พชภ.) จังหวัดเชียงราย

เปิดเผยว่า เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มูลนิธิได้ดำเนินการพากลุ่มผู้สูงอายุจากบ้านทับกุมารทอง ตำบลท่าข้าวเปลือก อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติ (ชาติพันธ์ไทลื้อ) ที่ถือใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวและใบสำคัญถิ่นที่อยู่ครบ 10 ปี อายุเกินกว่า 65 ปี ที่ได้ยื่นคำร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทย เดินทางมาทดสอบเกณฑ์การสื่อสาร ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์หนึ่งในการพิจารณาคำร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทย ณ ที่ว่าการอำเภอแม่จัน จ.เชียงราย จำนวน 29 ราย แต่ทั้งนี้ยังมีผู้เฒ่า 3 รายที่จะต้องมีการทดสอบใหม่อีกครั้งในวันที่ 6 ธันวาคม 2559 เพราะมีความพิการด้านการได้ยินและการสื่อสาร โดยทางมูลนิธิพชภ.ได้ช่วยในการสอบถามและให้ความรู้ความเข้าใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับกระบวนการให้แก่กลุ่มผู้เฒ่าด้วย นายอริยะกล่าวว่า ในปัจจุบันคำร้องขอแปลงสัญชาติของกลุ่มผู้เฒ่าอยู่ในกระบวนการทดสอบความรู้ด้านภาษาและการสื่อสาร ภายหลังจากกระบวนการนี้ คำร้องทั้ง 29 รายจะถูกส่งไปยังฝ่ายปกครองจังหวัดเชียงราย เพื่อเตรียมเข้าพิจารณาจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองสัญชาติระดับจังหวัดต่อไป ครั้งนี้ทางอำเภอแม่จันได้เร่งรัดให้รีบดำเนินการให้แล้วเสร็จเพื่อเป็นพื้นที่นำร่องในงานขอแปลงสัญชาติเป็นไทยของกลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติ “ผู้เฒ่ากลุ่มนี้เป็นผู้เฒ่าชาติพันธ์ไทลื้อที่อพยพมาจากเขตสิบสองปันนา มณฑลยูนนาน ประเทศจีน ช่วงปี พ.ศ. 2516-2520 ได้รับใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ช่วงปี พ.ศ. 2542-2547 จัดเป็นกลุ่มที่เกิดนอกประเทศไทย และได้อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลานานแล้ว จึงเข้าตามมาตรา 10 พ.ร.บ.สัญชาติ พ.ศ. 2508 สามารถขอแปลงสัญชาติเป็นไทย และโดยหลักเกณฑ์ที่ปรับเปลี่ยนสำหรับกลุ่มผู้เฒ่าที่อายุ 65 ปีขึ้นไป ทำให้สามารถยื่นคำร้องขอแปลงสัญชาติเป็นไทย” ผู้ประสานงานมูลนิธิพชภ. กล่าว นายอริยะกล่าวว่า สำหรับบรรยากาศในการทดสอบผู้เฒ่าเป็นไปอย่างคึกคัก โดยมีการร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และตอบคำถาม โดยคำถามความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับประเทศไทย ของอำเภอแม่จัน มี 10 ข้อ เช่น จังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทยคือจังหวัดอะไร อาชีพหลักของคนไทยคืออะไร ภาคไหนของประเทศไทยปลูกยางพารามากที่สุด ธงชาติไทยมีกี่สีและมีสีอะไรบ้าง นายกรัฐมนตรีของไทยคนปัจจุบันคือใคร เป็นต้น อนึ่ง “ผู้เฒ่าไร้รัฐ ไร้สัญชาติ” คือกลุ่มผู้สูงอายุที่ประสบปัญหาสถานะบุคคล ส่งผลให้เข้าไม่ถึงสุขภาวะ เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความเปราะบาง โดยเฉพาะ ผู้เฒ่ากลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ที่อาศัยอยู่ตามแนวชายแดน ห่างไกลจากศูนย์กลางบริการของรัฐ ไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการทางสังคมต่างๆ เนื่องจากขาดสถานะแสดงความเป็นคนไทย ทั้งที่ตั้งรกรากในแผ่นดินไทยมานานกว่า 30-40 ปี แม้จะสืบสกุลลูกหลานแล้วถึง 2-3 รุ่น ซึ่งปัจจุบันแนวทางนโยบายของรัฐไทยได้กำหนดให้ผู้เฒ่าไร้สัญชาติสามารถเข้าถึงกระบวนการพัฒนาสถานะบุคคลได้ แต่พบว่ากระบวนการพิจารณาและดำเนินการนั้นมีความซับซ้อน เกี่ยวพันกับหลายระดับ ตั้งแต่อำเภอไปจนถึงกระทรวงมหาดไทย จนทำให้การพัฒนาสถานะบุคคล ของกลุ่มผู้เฒ่าเป็นไปอย่างล่าช้า จนอาจทำไม่สำเร็จได้ในช่วงที่ผู้เฒ่ายังมีชีวิตอยู่ (อาจเสียชีวิตก่อนกระบวนการทั้งหมดสำเร็จลุล่วง เนื่องจากขั้นตอนยาวนานมาก) ส่งผลให้ในท้ายที่สุด ผู้เฒ่าเหล่านั้นไม่สามารถเข้าถึงการมีสุขภาวะที่ดีได้ SHARE.

….ที่มา : สำนักข่าวชายขอบ : Link>>> http://transbordernews.in.th/home/?p=15290 .

ขอขอบคุณแหล่งข่าวจาก  สำนักข่าวชายขอบ

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *