คำว่า ฐานันดรที่ 4 หมายถึงใคร
5 มีนาคม ของทุกๆ ปีถือว่าเป็น วันสื่อสารมวลชนแห่งชาติ (วันนักข่าว) โดยฐานข้อมูลการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า ได้อธิบายความหมายของคำว่า ฐานันดรที่ 4 เอาไว้ดังนี้ ฐานันดรที่ 4 หรือ The Fourth Estate ถูกเอ่ยขึ้นครั้งแรกเมื่อศตวรรษที่ 18 ในประเทศอังกฤษ สมัยก่อน ชาวยุโรป แบ่งฐานันดรศักดินา ของคนออกมาเป็น 3 ฐานันดร คือ
ฐานันดรที่ 1 ได้แก่ กษัตริย์ ขุนนาง และนักรบ
ฐานันดรที่ 2 ได้แก่บรรพชิต และผู้ทรงศีลทางศาสนาจักร
ฐานันดรที่ 3 ได้แก่ ประชาชนธรรมดาทั่วไป รัฐสภาอังกฤษ ประกอบไปด้วยผู้แทนฐานันดรทั้ง 3 ดังกล่าวคือ ขุนนาง พระราชาคณะ และผู้แทนราษฎร ที่ได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชนธรรมดา ในการประชุมรัฐสภาอังกฤษครั้งหนึ่ง เอ็ดมนต์ เบอร์ก Edmung Burke, 1729-1797) นักเขียน และนักการเมือง ซึ่งกำลังยืนอภิปรายอยู่ ได้ชี้มือไปยังกลุ่มนักหนังสือพิมพ์ที่เข้าร่วมฟังการประชุมด้วย พร้อมได้กล่าวขึ้นว่า ในขณะที่เราทั้งหลายซึ่งเป็นฐานันดรใดฐานันดรหนึ่งทั้ง 3 ฐานันดร กำลังประชุมกันอยู่นี้ ควรคำนึงว่าบัดนี้มีฐานันดรที่ 4 เกิดขึ้นแล้ว และฐานันดรที่ 4 นั้นกำลังนั่งฟังการประชุมของเราอยู่ ณ ที่นี้ด้วย นับตั้งแต่นั้นมาผู้ที่เป็น “นักหนังสือพิมพ์ จึงถูกเรียกว่า ฐานันดรที่ 4 ปัจจุบันความหมายของคำว่า ฐานันดรที่ 4 มิได้จำกัดอยู่แต่ว่า นักหนังสือพิมพ์ เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึง สื่อมวลชนแขนงต่าง ๆ รวมจนถึงสื่อออนไลน์ในโลกโซเชียลในปัจจุบัน
ณฐพัชร์ อภิโชคกุล หัวหน้าสำนักข่าวเบาะแสภาคเหนือ บก.เจี๊ยบแม่สายนิวส์ออนไลน์