3 หมื่นผู้ต้องขังได้ปล่อยตัว รับพระราชทานอภัยโทษ อีก 2 แสนคนได้ลดวันต้องโทษ

3 หมื่นผู้ต้องขังได้ปล่อยตัว รับพระราชทานอภัยโทษ อีก 2 แสนคนได้ลดวันต้องโทษ

3 หมื่นผู้ต้องขังได้ปล่อยตัว รับพระราชทานอภัยโทษ อีก 2 แสนคนได้ลดวันต้องโทษ ตามพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2564

เมื่อวันที่ 27 ก.ค.64 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2564 แก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา 28 กรกฎาคม 2564 เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดีอันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ประกาศว่าโดยที่ทรงพระราชดำาริเห็นว่าในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา28กรกฎาคม2564

เพื่อเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตนเป็นพลเมืองดีอันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 175และมาตรา 179 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา261 ทวิวรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2517 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2564 มีทั้งสิ้น 20 มาตรา ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ทั้งนี้จะมีทั้งในส่วนที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว ตามมาตรา มาตรา 5 เป็นกลุ่ม ผู้ต้องกักขัง ผู้ทำงานบริการสังคมหรือทำงานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ และ ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ

นอกจากนี้ผู้ที่ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัว ตาม มาตรา 6 ซึ่งระบุว่า ตามมาตรา 6 ภายใต้บังคับมาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 12 และมาตรา 13 นักโทษเด็ดขาดดังต่อไปนี้ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป (1) ผู้ต้องโทษจำคุก ไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ซึ่งมีโทษจำคุกตามกำหนดโทษ ที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(ก) เป็นคนพิการโดยตาบอดทั้งสองข้าง มือหรือเท้าด้วนทั้งสองข้าง หรือเป็นบุคคล ซึ่งแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าเป็นคนทุพพลภาพมีลักษณะ อันเห็นได้ชัด

(ข) เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อน โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) หรือโรคจิต ซึ่งทางราชการได้ทำการรักษามาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนในวันที่ พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่า ไม่สามารถจะรักษาในเรือนจำให้หายได้ และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่าสามปี หรือไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษ

(ค) เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายหรือโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอดส์) ระยะสุดท้าย ซึ่งแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าเป็นระยะสุดท้าย และไม่สามารถจะรักษาในเรือนจำให้หายได้

(ง) เป็นหญิงซึ่งต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษ
ตามกำหนดโทษ

(จ) เป็นคนมีอายุไม่ต่ำกว่า 60 ปีบริบูรณ์ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำ ในกรณีไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดีซึ่งมีโทษจำคุก ตามกำหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่ไม่เกิน 3 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ หรือเป็นคนมีอายุตั้งแต่ 70 ปีขึ้นไป

(ฉ) เป็นผู้ต้องโทษจำคุกเป็นครั้งแรก และมีอายุยังไม่ครบยี่สิบปีบริบูรณ์ในวันที่ พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตามที่ปรากฏในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร หรือทะเบียนรายตัวของเรือนจำในกรณีไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียว หรือหลายคดี ต้องได้รับโทษจำคุกมาแล้วถึงวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของโทษตามกำหนดโทษหรือ

(ช) เป็นนักโทษเด็ดขาดชั้นเยี่ยม และไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ซึ่งมีโทษจำคุกตามกำหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่ไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ ใช้บังคับ

สำหรับในส่วนนักโทษส่วนที่จะได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษ ตามมาตรา 7 ภายใต้บังคับมาตรา 8 มาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 12 และมาตรา 13 นักโทษเด็ดขาดซึ่งมิได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไปตามมาตรา 6 ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษ คือหากต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ให้เปลี่ยนเป็นกำหนดโทษจำคุก 50 ปี แล้วให้ลดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร โดยชั้นเยี่ยม ลดโทษ 1 ใน 2 ชั้นดีมาก 1 ใน 3 ชั้นดี 1 ใน 4 ชั้นกลาง 1 ใน 5

นอกจากนี้ในส่วนของ นักโทษ ที่มีความผิดตามบัญชีลักษณะความผิดท้ายพระราชกฤษฎีกานี้ ให้ได้รับพระราชทาน อภัยโทษลดโทษ ตามมาตรา 8 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 มาตรา 12 และมาตรา 13 นักโทษเด็ดขาดซึ่งต้องโทษจะให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษ คือหากต้องโทษจำคุกตลอดชีวิต ให้เปลี่ยนเป็นกำหนดโทษจำคุก 50 ปีแล้วให้ลดโทษ

ตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาดตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจำทหาร โดยชั้นเยี่ยม 1ใน 3 ชั้นดีมาก 1 ใน 4 ชั้นดี 1 ใน 5 ชั้นกลาง 1 ใน 6 โดยให้นับโทษจำคุกนั้นตั้งแต่วันที่ต้องรับโทษ เว้นแต่กรณีที่จะต้องนับโทษต่อจากคดีอื่น ให้นับโทษต่อจากคดีอื่นนั้น (2) ผู้ต้องโทษจำคุกไม่ถึงตลอดชีวิต ให้ลดโทษจากกำหนดโทษตามลำดับชั้นนักโทษเด็ดขาด

อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ต้องขังที่ไม่ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ในการลดวันต้องขังและปล่อยตัวตามพรฎ.นี้ ได้มีการระบุไว้ ในมาตรา 13 ซึ่งเป็นกลุ่ม นักโทษเด็ดขาด ต้องโทษคำพิพากษาประหารชีวิต และเคยได้รับพระราชอภัยโทษแล้ว

นอกจากนี้ มาตรา13 ภายใต้บังคับมาตรา 15 นักโทษเด็ดขาด ดังต่อไปนี้ไม่อยู่ในข่ายได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ อีกทั้งกลุ่มผู้ต้องขังคำพิพากษา ให้จำคุกเกินแปดปี หรือจำคุกตลอดชีวิต ภายหลังวันที่พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2563 ใช้บังคับ ความผิดฐานเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งนำเข้าส่งออก เพื่อจำหน่าย และกลุ่มความผิดเกี่ยวกับเพศ

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ 2564 จะมีผู้ต้องขังได้รับการปล่อยตัวออกจากเรือนจำประมาณ 30,000 ราย จากเรือนจำทั่วประเทศ ตามมาตรา 6 นอกจากนี้ ยังมีนักโทษเด็ดขาดที่ได้รับสิทธิ เข้าหลักเกณฑ์ลดวันต้องโทษ ตามพระราชกฤษฎีกา ฉบับดังกล่าวอีกกว่า 200,000 ราย ทั้งนี้มีรายงานว่า กรมราชทัณฑ์ได้เตรียมประชุมเตรียมความพร้อมรองรับผู้ต้องที่จะได้รับการปล่อยตัวพ้นเรือนจำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้กรมราชทัณฑ์มีผู้ต้องขังเด็ดขาด ที่ควบคุมอยู่ 248,704ราย จากผู้ต้องขังทั้งหมด 307,007 ราย จากข้อมูลกรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ 1 ก.ค.64

 

ขอขอบคุณแหล่งข่าวจาก – ข่าวสด  https://www.khaosod.co.th/breaking-news/news_6531873

 

 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *