กองปราบทลายแก๊งค้ารถข้ามชาติ ส่งออกนับร้อยคันเสียหายกว่า100ล้าน
กองปราบปราม โดยการอำนวยการสั่งการของ พล.ต.ต.จิรภพ ภูริเดช ผบก.ป., พ.ต.อ.มนตรี เทศขัน รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.พัฒนศักดิ์ บุบผาสุวรรณ รอง ผบก.ป., พ.ต.อ.บุญลือ ผดุงถิ่น ผกก.3 บก.ป./หน.ชุดปฏิบัติการหลัก ศปจร.ก. พร้อมด้วย พ.ต.ท.สิงห์ชัย ฐานไชยสิทธิ์ รอง ผกก.3 บก.ป., พ.ต.ท.วิวัฒน์ จิตโสภากุล รอง ผกก.๓ บก.ป.,พ.ต.ต.หญิง กัญจิรา นรสาร สว.ปฏิบัติราชการ กก.3 บก.ป../เลขาฯ ชุดปฏิบัติการหลัก ศปจร.ก., ร.ต.อ.ปองธรรม ปองไป รอง สว.กก.3 บก.ป.,ร.ต.อ.ปุรณัฐ สุวรรณวิศาล รอง สว.กก.3 บก.ป., ด.ต.วิชาญ บุญเกลี้ยง ผบ.กก.3 บก.ป.,ส.ต.อ.อรรถพล บุญลิลา ผบ.หมู่ กก.3 บก.ป. ได้ร่วมกันสืบสวนจับกุม กลุ่มแก๊งเครือข่ายลักลอบนำรถยนต์มาดัดแปลง และส่งออกนอกราชอาณาจักร โดยลงพื้นที่ตรวจสอบใน จ.มุกดาหาร,จ.อุบลราชธานี และ จ.สกลนคร จำนวน 3 ครั้ง ยึดรถยนต์ของกลางได้จำนวน 26 คัน พร้อมของกลางอื่นๆอีกจำนวนหลายรายการ
ได้ร่วมกันสืบสวนจับกุม กลุ่มแก๊งเครือข่ายลักลอบนำรถยนต์มาดัดแปลง และส่งออกนอกราชอาณาจักร โดยลงพื้นที่ตรวจสอบใน จ.มุกดาหาร,จ.อุบลราชธานี และ จ.สกลนคร จำนวน 3 ครั้ง ยึดรถยนต์ของกลางได้จำนวน 26 คัน พร้อมของกลางอื่นๆอีกจำนวนหลายรายการ โดยก่อนหน้านี้ทางกองปราบปรามได้รับการร้องเรียนจากประชาชนผ่านทาง Facebook Page “กองปราบปราม” ว่ามีรถถูกยักยอกและไปโผล่ที่ประเทศลาว กองปราบปรามจึงได้ลงพื้นที่เพื่อสืบสวนเป็นเวลา 2 เดือนจึงได้พบแก๊งค้ารถข้ามชาติทั้งเครือข่าย
ต่อมาวันที่ 1.มี.ค.2563 ได้ขออนุมัติหมายค้นจากศาล เพื่อทำการตรวจค้นพื้นที่ใน จ.มุกดาหาร ทั้งหมด 4 จุด โดยสามารถตรวจยึดรถยนต์ จำนวน 18 คัน พร้อมอุปกรณ์ หลักฐานการปลอมแปลงเอกสาร และการดัดแปลงแก้ไขตัวรถ ต่อมาในวันที่ 12 พ.ค.63 ได้ขออนุมัติหมายค้นจากศาล เพื่อทำการตรวจค้นพื้นที่ใน จ.อุบลราชธานี ทั้งหมด 2.จุด โดยสามารถตรวจยึดรถยนต์ จำนวน 7 คัน พร้อมแผ่นโลหะมีร่องรอยการตัด ระบุหมายเลขตัวรถ จำนวน 85 ชิ้น และเมื่อวันที่ 14 พ.ค.63 ขออนุมัติหมายค้นจากศาล เพื่อทำการตรวจค้นจุดซุกซ่อนรถพื้นที่ จ.สกลนคร ตรวจยึดรถยนต์ได้ จำนวน 1 คัน และพยานหลักฐานอื่นๆ
ซึ่งภายหลังจากการตรวจยึดของกลางดังกล่าว เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม ได้ร่วมกับ พงส.กก.3 บก.ป. ตรวจสอบรายละเอียดและข้อเท็จจริงทั้งหมด ปรากฎว่า รถยนต์ที่ตรวจยึดได้ดังกล่าว เป็นรถยนต์ที่มีการแก้ไขหมายเลขตัวถัง และหมายเลขเครื่องยนต์ จำนวน 8 คัน และในจำนวนรถยนต์ที่ถูกนำมาตอกหมายเลขตัวถัง และหมายเลขเครื่องยนต์นั้น ตรวจสอบพบว่าเป็นรถยนต์ที่ได้มาจากการโจรกรรมโดยผิดกฎหมายอีกด้วย
ซึ่งจากการสอบสวนกลุ่มบุคคลดังกล่าวได้ให้การรับสารภาพว่า ได้รับซื้อรถยนต์ที่หลบหนีบริษัทไฟแนนท์ (สินเชื่อ) จากผู้เช่าซื้อที่มีความเดือดร้อนเรื่องเงิน โดยเป็นการซื้อต่อๆกันมาในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด หรือรับซื้อรถยนต์จากตลาดมืด หรือเพจรถหลุดจำนำ หลังจากนั้นจะนำมาแก้ไข ดัดแปลง ตอกหมายเลขตัวรถและหมายเลขเครื่องยนต์ให้ตรงกับเอกสารประกอบตัวรถที่ได้เตรียมเอาไว้แล้ว ให้มีลักษณะ ตรงรุ่น ตรงสี หรือเรียกว่าเป็นการสวมยกชุด หลังจากนั้นจะนำเอกสารรถยนต์เท็จไปแสดงต่อกรมการขนส่งทางบก, เจ้าหน้าที่ตำรวจตรวจคนเข้าเมือง และเจ้าหน้าที่ศุลกากร เพื่อลักลอบนำรถยนต์ออกนอกราชอาณาจักรไทย โดยข้ามผ่านสะพานมิตรภาพทางช่องทางปกติ ไปส่งขายต่อให้กับกลุ่มพ่อค้าฝั่งประเทศลาวทำมา 3 ปีแล้ว
โดยปัจจุบันทางพนักงานสอบสวน กก.3 บก.ป. ได้ดำเนินคดีกับผู้ต้องหาที่กระทำความผิดในข้อหา “ปลอมและใช้เอกสารของทางราชการปลอม” และอยู่ระหว่างสืบสวนสอบสวนหาตัวผู้ร่วมขบวนการ ไปแล้วจำนวน 5 รายมีมูลค่าความเสียหาย 100 กว่าล้านบาท และเตรียมขยายผลจอออกหมายจับผู้ที่เกี่ยวข้องมาดำเนินคดีต่อไป
การกระทำดังกล่าวเป็นความผิดฐาน “ปลอมหรือใช้เอกสารราชการกรมการขนส่งทางบกปลอม (ป.อาญา ม.265 ประกอบ ม.268), แจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารมหาชนหรือเอกสารราชการ ซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐาน โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (ม.267) และความผิดตาม มาตรา ๒๗ พ.ร.บ.ศุลกากร พุทธศักราช 2469 “ผู้ใดนําหรือพาของที่ยังมิได้เสียค่าภาษีหรือของต้องจํากัด หรือของต้องห้ามหรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรไทยก็ดีหรือส่ง หรือพาของเช่นว่านี้ออกไปนอกพระราชอาณาจักรก็ดีหรือช่วยเหลือด้วยประการใดๆ”
ขอขอบคุณเเหล่งที่มาของข่าวจาก – ข่าวบ้านเมือง https://www.banmuang.co.th/news/crime/201131