“โครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น” กับพลับทองของดีแม่สรวย

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปีพุทธศักราช 2526 เป็นจุดกำเนิดศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย ซึ่งจัดตั้งบนอาณาบริเวณ 20 ไร่ ในเขตหมู่บ้านห้วยน้ำขุ่น ครอบคลุมพื้นที่ 3,000 ไร่ เพื่อส่งเสริมการปลูกพืชทางการเกษตรแก่เกษตรกรชาวเขาในพื้นที่ตามแนวทางวิทยาการแผนใหม่ทดแทนฝิ่น เป็นการช่วยยกระดับความเป็นอยู่ให้แก่ราษฎรในท้องถิ่นให้ดีขึ้น

โดยทางศูนย์ฯ ได้รับความร่วมมือจากหลายฝ่าย อาทิ สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 6 ช่วยส่งเจ้าหน้าที่มาทำการปรับพื้นที่ และให้คำปรึกษาแนะนำส่งเสริมด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นผู้ทำวิจัยเรื่องชา กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และใน พ.ศ. 2528 สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท จังหวัดเชียงรายได้ตัดถนนเข้าสู่หมู่บ้านเพื่อความสะดวกในการขนส่ง

วัดความสูงจากระดับน้ำทะเล ได้ 1,015 เมตร ลักษณะพื้นที่เป็นหุบเขาและเนินเขาสลับซับซ้อน มีความลาดชันมากกว่า 35% เป็นหน่วยดินที่เรียกว่า Slope Complete มีที่ราบแคบกระจายอยู่ทั่วไป ปัจจุบันรับผิดชอบพื้นที่ 141.3 ตารางกิโลเมตร หรือ 88,339.74 ไร่ อุณหภูมิเฉลี่ย 26 องศาเซลเซียส ราษฎรในพื้นที่ประกอบด้วยเผ่ามูเซอ อีก้อ อาเข่อ กะเหรี่ยง และจีนฮ่อ

ด้วยเหตุนี้การปลูกพืชผลไม้ บนพื้นที่สูงจึงมีคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟพันธุ์อาราบิก้า สตรอเบอรี่ พลับ บ๊วย ผลไม้เมืองหนาว โดยเฉพาะลูกพลับ (Persimmon) เป็นพืชในสกุล Diospyros ซึ่งมีอยู่หลายสปีชีส์ด้วยกัน สปีชีส์ที่นิยมปลูกในประเทศไทยมากที่สุดคือ D.kaki พลับเป็นไม้ผลเมืองหนาวซึ่งเป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ สามารถจำแนกประเภทได้ตามรสชาติของผล แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่คือ พลับหวาน และ พลับฝาดB6ลูกพลับ เป็นผลไม้ลูกเล็ก ๆ เปลือกมีสีเหลืองทองอร่าม เนื้อหวาน กรอบ อร่อย และทำให้หลาย ๆ คนหลงใหล แต่ก่อนจะเป็นผลไม้ที่นำเข้ามาจากประเทศจีน แต่ปัจจุบันประเทศไทยก็มีปลูกบ้างแล้ว อย่างที่จังหวัดเชียงใหม่ และเชียงราย โดยเฉพาะที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น ต.ท่าก๊อ อ.แม่สรวย

ต้นพลับ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Diospyros kaki L. เป็นไม้ผลกึ่งร้อน มีการนำเข้าจาก ประเทศจีน ไต้หวันและญี่ปุ่นมาปลูกในประเทศไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2471 อยู่ในสกุลเดียวกับพืชท้องถิ่นของไทย เช่น มะพลับ รีบู ตับเต่า กล้วยเมี่ยง จันเขา กล้วยฤาษี ตะโก มะเกลือ ฯลฯ

พันธุ์ของพลับที่ปลูกในบ้านเราเป็นพลับรสชาติฝาดทั้งหมด ซึ่งเมื่อให้ผลแล้วบางชนิด สามารถรับประทานได้หรือบางชนิดก็เปิบไม่ลง เนื่องจากรสชาติฝาดนั่นเอง และเพื่อแก้ฝาดจึงได้มีงานวิจัยขึ้น โดย นายวรวิทย์ ยี่สวัสดิ์ นักวิจัย 8 ว. จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำพลับจากต่างประเทศมาปลูกทดสอบ ที่สวนสองแสน พบว่า พลับบางพันธุ์สามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้ดี จึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกร ปลูกเป็นการค้า

โดยพันธุ์พลับที่ปลูกเป็นการค้าในประเทศไทย มีอยู่ 3 สายพันธุ์หลัก พันธุ์ Xichu พันธุ์ Fuyu และ พันธุ์ Hyakume อย่างไรก็แล้วแต่ พลับมีทั้งหวานและฝาด การขจัดความฝาดเพื่อผลดีทางการค้ามี 2 วิธี คือ อบด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ การแช่น้ำปูนใส งานวิจัยในการขจัดความฝาดในผลพลับสายพันธุ์ Hyakume พบว่า หากเกิดมีเมล็ดขึ้นรสชาติจะมีความหวานขึ้น ส่วนผลไหนไม่มีเมล็ดก็ฝาด ซึ่งปัจุบันได้ประสบความสำเร็จในด้านรสชาติ และมีการนำเทคโนโลยีนี้ไปถ่ายทอดให้เกษตรกรทดลองขยายผลต่อยอดออกไปเรื่อยๆ

คุณประโยชน์ชองลูกพลับ ก็คือ ช่วยลดอาการปวดท้องที่เกิดจากความเย็น เช่น ปวดประจำเดือน ปวดโรคบิด ทั้งยังแก้ไอหรือเจ็บคอได้อีกด้วย แต่ที่เป็นจุดเด่นที่สุดของลูกพลับก็คือ ลูกพลับสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ เพียงแค่กินวันละลูกก็ช่วยให้สุขภาพดีขึ้นได้ และไม่เพียงลูกพลับสดเท่านั้นที่มีประโยชน์ ลูกพลับแห้งก็เช่นกัน เพราะสามารถช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น และผู้ที่ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ ลูกพลับแห้งก็ช่วยบรรเทาอาการได้เป็นอย่างดี

ด้วยเหตุที่ลูกพลับเป็นผลไม้อันทรงคุณค่า และปลูกได้ดีบริเวณห้วยน้ำขุ่น จนกลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจอันขึ้นชื่อของตำบลท่าก๊อ

“โครงการหลวงห้วยน้ำขุ่น” กับพลับทองของดีแม่สรวย

แหล่งข่าว เชียงใหม่นิวส์ B5-9 (1)

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *