ขอขมา “แม่น้ำปิง” ลอยกระทงสายดั้งเดิม ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของคนเมืองตาก
แรม 1 ค่ำ ต่อจากคืนวันเพ็ญสวยเดือน 12 ของทุกปี เป็น”ประเพณีลอยกระทงสาย”ของผู้คนเมืองตาก เพื่อขอขมาลาโทษแม่น้ำปิง หลังจากที่ใช้น้ำไว้ดื่มกิน ชะล้างร่างกายกันมาตลอดทั้งปี เป็นภูมิปัญญาของผู้คนที่นี่ เริ่มต้นประเพณีลอยกระทงสายมีขึ้นครั้งแรกที่บ้านหม้อ หรือบ้านหนองหลวง ต.หนองหลวง อ.เมือง จ.ตาก ต่อมาผู้คนหลายหมู่บ้านที่อยู่ตลอดสองฝั่งริมน้ำปิงผ่านพบเห็นประเพณีลอยกระทงสาย ก็พลอยเห็นดีเห็นงาม นำประเพณีสวยแปลกไปใช้ในหลาย ๆ หมู่บ้าน จนประเพณีลอยกระทงสายกลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของผู้คน ที่สืบทอดกันมานานหลายชั่วอายุคน
ประเพณีลอยกระทงสาย (ดั้งเดิม)ประเพณีหนึ่งเดียวของประเทศ หลังที่ชาวบ้านในสองฝั่งริมน้ำปิง เสร็จงานประเพณีลอยกระทง (ใหญ่) ที่จัดขึ้นโดยจังหวัด หน่วยงานราชการ และองค์กรปกครองท้องถิ่น ในคืนวันเพ็ญสวย 12-15 ค่ำ เดือน 12 ในแต่ละปีแล้ว ในวันแรม 1 ค่ำของแต่ละปี หลังลอยกระทงใหญ่แล้ว ชาวบ้านทั้ง 2 ฝั่งริมน้ำปิง ไล่ตั้งแต่อำเภอบ้านตาก และอำเภอเมือง จะจัดงานประเพณี ลอยกระทงสาย ไหลประทีป 1,000 ดวง กันแต่ละคุ้มบ้าน เป็นประเพณี ที่ไม่มีใครเหมือน และไม่เหมือนใคร
ชาวบ้านรวบรวมสะสมกะละ ที่ได้จากทำเที่ยง มะพร้าว เมี่ยงเค็บหมู และทำอาหารการกิน สะสม ไว้ใต้ถุนบ้านนับร้อยใบพันใบ ใส่ขี้ไต๋ จุดแล้ว ลอยไปตามสายน้ำ กะลาไม่พอก็ใช้กาบกล้วย ใส่ขึ้ไต่ ดอกกไม้ธุปเทียน และเศษสตางค์ ใส่ลงไป
ก่อนลอยกระทง จะมีการกอตั้งต้นผ้าป่า ช่วยกันใส่ดอกไม้ธูปเทียน ของกินของใช้ ประดิษฐด้วยผ้าที่ผูกเป็นชะนี ค่าง และอื่น ๆ ไว้กลางหมู่บ้าน ย่ำค่ำ ก็จะตั้งขวนแห่ กลองยาว ซะล้อ ซอซึ้ง ไปที่วัดแต่ละหมู่บ้าน ทอดผ้าป่าถวายผพระ หลังจากนั้น ก็จะมีขบวนแห่กระทงนำ กระทงตาม ไปที่สายน้ำแม่ปิง ที่ท่าน้ำ หนุ่มสาว ก็จะร้องรำ ทำเพลง อย่างสนุกสนาน
หนุ่มร่างการทะมัดทะแมง 10-15 คน ก็จะลงไปสายน้ำแม่ปิง ปล่อยกระทงนำ ตามด้วย กระทงสาย ไปตามเสียงเพลง เป็นจังหวะถี่ห่าง เพราะการปล่อย และเสียงเชียร์ สวยงาม ใต้แม่น้ำปิงจะเป็นสันทราย เป็นทางยาว บังคับกระทงสาย ให้ลอยเป็นเส้นสาย ตามสันทราย ที่ไม่มีที่ไหน ลอยกระทงสายได้เหมือนตัวบ้านตาก เมืองตาก เสียงเทียน แสงจากขี้ไต๋สวยงามยาวเป็นสาย จังหวะเสียงเพลงเร้าใจ การปล่อยกระทงเป็นเส้นสาย ถี่ห่าง สวยงามยิ่งนัก
สิ่งสวยงาม ตั้งแต่สองฝั่งแม่น้ำปิง บ้านหนองบัวเหนือ หนองบัวใต้ แม่ท้อ หัวเดียด ไม้งาม หนองหลวง วัดพร้าว เชียงทอง ท่าแค ปล่อยกระทงสายพร้อมกัน เวลาเดียวกัน นับหมื่น ๆ ดวง สวยงามอย่าบอกใคร จนเป็นเพณี ถุงทุกวันนี้
ช่วงบ่ายที่ร้านขายเมี่ยง กล้วยปิ้งของยายปี เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 50 ปีเราจะเห็นต้นผ้าป่า ห้อยด้วยผ้าขนหนู ที่ทำเป็นชะนี ยาทัมใจ ยาประสานอแรด แฟ็บผงซักฟอก ปลากระป๋อง น้ำปลาและนมตราเด็กอ้วน แขวนพร้อมสตางค์แบ็งค์ฉบับละ 1 บาท สมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันมหิดล คละเคล้ากันไปกับเงินบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และเหรียญสลึง ห้าสิบสตางค์ คละเคล้ากับเหรียญสตางค์ 1 และ 5 สตางค์ ใส่รวมกับถุงผ้าแขวนไว้บนต้นผ้าป่า ที่ทำจากกิ่งต้นมะขาม ดนตรีไทย ปี่กลอง กลองยาวที่มีหลายวงของบ้านหนองหลวงช่วยกันบรรเลง คนหัวเดียด-ไม้งาม และผู้คนที่อื่นที่ผ่านไป-มา ต่างเห็นดีเห็นงามร่วมกันทำบุญเพื่อขอมีส่วนร่วมในการทำบุญขอขมาลาโทษแม่น้ำปิง
บ้านหม้อ หรือบ้านหนองหลวง มีร้านเมี่ยงอยู่หลายร้านด้วยกัน ไปว่าจะเป็นร้านเมี่ยงของยายเซี้ยม ยายย้อย ยายช้อย ยายปีเมี้ยงที่ขายทั้งเมี่ยงหวาน เมี่ยงเค็มเมี่ยงเปรี้ยว และเมี่ยงเต้าเจี้ยว ต่างต้องใช้ไส้มะพร้าว เป็นเครื่องเคียงทั้งสิ้น ขายดิบขายดี ใช้กะลาเจ้าละหลายพันใบในแต่ละปี ขุดเสร็จแล้วใส่ตะกร้า หรือกองไว้ใต้ถุนบ้าน ลอยกระทงสาย หลังไปร่วมงานกระทงใหญ่ ที่ริมน้ำปิงหน้าศาลากลางจังหวัด ใกล้จวนเจ้าเมืองหลังเก่า เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากที่ถูกคนที่ไม่รู้คุณค่าของโบราณสถานของบ้านเมือง รวมหัวกันรื้อถอนอาคารประวัติศาสตร์ศาลากลางหลังเก่าทิ้งไปอย่างน่าเสียดาย
ตกเย็นฟ้าเริ่มมืดคนบ้านหม้อ และศรัทธาบ้านอื่น ก็จะนำต้นผ้าป่าไปที่วัดหนองหลวง หรือวัดปทุมคีรี (วัดจอมพล ถนอม กิตติขจร) ไปวางต้นผ้าป่า ไว้ที่ใกล้ต้นจันทน์ต้นใหญ่อายุกว่า 100 ปี แล้วช่วยกันจัดการทอดผ้าป่า ถวายเจ้าอาวาสเป็นเสร็จพิธี และขบวนกลองยาวหนองหลวง-แหลมแค ฝีมือดีอาชีพ ก็จะเดินนำหน้าเอาต้นผ้าป่าน้ำและกระทงปิดท้ายอีกชุดหนึ่งแห่มาที่ “แพตาโบ๊ะ” แหล่งจอดแพไม้สัก แพซึงล่องไม้สักผ่านตาก ไปปากน้ำโพ นครสวรรค์ เพื่อลงไปที่บริเวณแพซุงของ ออป. ที่จอดเรียงยาวด้วยไม้สักทองนับพันนับหมื่นท่อนทุกปี
แล้วช่วยกันจัดการลอยกระทงสายในค่ำคืนแรม 1 ค่ำ ท้องฟ้า ยังใส่สว่าง กระบวนกลองยาวตีร้องรำทำเพลงกันสนุกสนาน เป็นที่สนุกสนานยิ่งนัก ก่อนหน้านี้ ไม่มีการแข่งขัน แต่ภูมิปัญญาของผู้คนสมัยนั้น รู้ว่า สันทรายใต้น้ำ และการปล่อยกระทงที่ถูกจังหวะกับเสียงร้องรำทำเพลง จะทำให้กระทงสายที่ปล่อยไปเป็นสายยาวสวยงามยิ่งนัก คนที่อยู่ฝั่งตะวันออกก็แห่มาดูถึงบริเวณลอยกระทงสาย คนป่ามะม่วง ก็เห่กันที่แม่น้ำปิง ดูเขาลอยกระทงสายที่บ้านหม้อ อย่างใจจดใจจ่อ ดูสายน้ำที่มีกระทงไฟ เต็มสายน้ำ
ต่อมาภายหลังเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมานี้เอง นายจำเนียร ศศิบุตร พ่อเมืองตาก ในสมัยนั้นได้ปรึกษากับนายทิวา พิมพิสุทธิ์ เป็นนายกเทศมนตรีเมืองตากและนายวรวิทย์ เมฆนพรัตน์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดตากคนแรกในสมัยนั้น ฟื้นฟูประเพณีลอยกระทงสาย ยกฐานะจากระดับหมู่บ้านให้เป็นระดับจังหวัด เพื่อประกาศให้คนทั้งโลกรับรู้ประเพณีแปลก ลอยกระทงสายประทีปพันดวง
ช่วงนั้น จัดให้มีการสาธิตการลอยกระทงสายที่บ้านหัวเดียด และที่บ้านหนองหลวง ก่อนนำไปเป็นประเพณีสำคัญของจังหวัด และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยภาคเหนือเขต 4 ยุค ผอ.สุพงศ์ สาระนาค ได้เข้ามาให้การสนับสนุนจนเป็นงานใหญ่โตและต่อมานายสบเกษม แหงมงาม ประธานชมรมสื่อมวลชนและนักประชาสัมพันธ์จังหวัดตาก นำคณะไปจัดการแถลงข่าวผ่านรายการเก้าวันใหม่ ทาง Modernine Tv และรายการบ้านเลขที่ 5 ไทยทีวีช่อง 5 ของบริษัท มีเดีย ออฟมีเดีย จำกัด (มหาชน) และผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ส่วนกลางหลายฉบับ ทำให้ผู้คนรู้จักงานกระทงสายไหลประทีปพันดวง เป็นวงกว้างทั้งประเทศและทั่วโลก
ต่อมานายทิวา พิมพิสุทธิ์ นายกเทศมนตรีเมืองตากในสมัยนั้น ได้ขอรับถ้วยรางวัลพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อมอบให้กับผู้ชนะเลิศการแข่งขัน และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระราชทางกระทงนำ จนนำมาใช้อย่างเป็นพิธีสำคัญในปัจจุบัน
อยากเห็นประเพณีแปลกลอยกระทงสายต้นฉบับของเมืองตาก ยังหาดูได้ที่บริเวณตลาดด้ากง อำเภอบ้านตาก บ้านป่ามะม่วง หนองบัวใต้ และบ้านแม่ท้อ อ.เมือง จ.ตาก ดูง่าย ๆ กับลอยกระทงสาย ของนายก ฯ สำรวย พุทธวงศ์ อบต.ป่ามะม่วง วันที่ 18-22 พฤศจิกายน ณ ริมฝั่งแม่น้ำปิง ช่วงสะพานตากสินมหาราชานุสรณ์กับสะพานแขวน ฯ 200 ปี (ฝั่งตะวันตก) ท่านจะเห็นเอกลักษณ์ต้นฉบับกระทงสาย ที่แตกต่างกับการลอยกระทงสายประทีปพันดวง ที่จัดขึ้นโดยเทศบาลเมืองตาก ที่กลายพันธุ์ไปจากต้นฉบับเดิม
ลองไปสัมผัส จะรู้ถึงความแตกต่างเอกลักษณ์ของเดิม กับเอกลักษณ์ใหม่กลายพันธุ์ แล้วจะรู้ความแตกต่างของคุณค่าวัฒนธรรมพื้นบ้าน
สบเกษม แหงมงาม /รายงาน
ขอขอบคุณแหล่งข่าวจาก – https://northernnewsthailand.com/news/29568/?fbclid=IwAR2tL4iWrFgDXlAW7ZhsHrDpEmb1Mzg7ULJuXh_eQl2ORyLHOG8E6wGq9yQ