แม่ทัพภาคที่ 3 ประชุมถกการแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคเหนือตอนบน ของศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ

แม่ทัพภาคที่ 3 ประชุมถกการแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคเหนือตอนบน ของศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ

เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2561 พลโท วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ 3 ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ เป็นประธานในการประชุมการปฏิบัติงานศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ พร้อมเยี่ยมชมการจัดแสดงนิทรรศการ นวัตกรรม และสรุปผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ ที่ ห้องประชุมอิมพีเรียล แกรนด์ ฮอลล์ โรงแรมอิมพีเรียลแม่ปิง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

 โดยมี พลโทดำริห์ สุขพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์ ประสานการปฏิบัติที่ 2 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร , พลตรีณัฐวุฒิ ชุณหะนันทน์ ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 7  ผู้บัญชาการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ (ศป.ปส.ชน.) , พลตำรวจโท สมหมาย กองวิสัยสุข ผู้บัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด , พลตำรวจโท พูลทรัพย์ ประเสริฐศักดิ์ ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 5 , นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ , นายประจญ ปรัชญ์สกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย และนายสิริรัฐ ชุมอุปการ ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน พร้อมคณะกรรมการอำนวยการศูนย์อำนวยการป้องกัน และปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ และคณะทำงาน ร่วมประชุมคณะกรรมการอำนวยการ โดยมีวัตถุประสงค์การประชุมเพื่อให้ทุกหน่วยงานบูรณาการร่วมกัน ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ พิจารณาแก้ไขปัญหาข้อขัดข้อง และกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้ สถานการณ์ยาเสพติด ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคเหนือ แหล่งผลิตยาเสพติดในประเทศเพื่อนบ้าน ยังคงผลิตยาเสพติดประเภทยาบ้า, ไอซ์ และเฮโรอีน ได้เป็นจำนวนมากกว่าปีที่ผ่านมา สาเหตุเนื่องจากสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดยังคงสามารถส่งเข้าแหล่งผลิต ยาเสพติดได้หลายทิศทางอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการลักลอบลำเลียงเข้าสู่เขตไทย ยังคงดำเนินการมาโดยตลอด และสามารถส่งเข้ามาทดแทนยาเสพติดที่ถูกจับกุมได้ สำหรับทิศทางการลำเลียงยาเสพติด ส่วนใหญ่จะถูกส่งไปลักลอบนำเข้าทางด้านทิศตะวันออกของจังหวัดเชียงรายเพิ่มมากขึ้น ส่วนที่เหลือจะกระจายไปทางด้านจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ขณะที่ แนวโน้มสถานการณ์ยาเสพติด คาดว่าแหล่งผลิตในประเทศเพื่อนบ้าน จะยังคงผลิตยาเสพติดอย่างต่อเนื่อง และพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคเหนือ จะเป็นพื้นที่นำเข้าหลักอยู่ต่อไปพื้นที่เพ่งเล็ง ได้แก่ 1 พื้นที่ด้านตรงข้าม อำเภอเวียงแก่น และอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย 2 พื้นที่ด้านตรงข้าม อำเภอแม่สาย และอำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย 3 พื้นที่ด้านตรงข้าม อำเภอแม่อาย, อำเภอฝาง, อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

สำหรับ ผลการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ ควบคุมอำนวยการ ประสานงานให้หน่วยที่เกี่ยวข้องดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ , จังหวัดเชียงราย และจังหวัดแม่ฮ่องสอน ห้วงตั้งแต่เดือน ตุลาคม 2560 ถึง 15 สิงหาคม 2561 ทั้งด้านการสกัดกั้นปราบปราม ด้านการป้องกัน โครงการประชารัฐร่วมใจปลอดภัยยาเสพติด โครงการไทยนิยมยั่งยืน รอบที่ 2 กองทุนแม่ของแผ่นดิน จังหวัดเชียงใหม่ และด้านการบำบัดรักษา เป็นต้น

โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดชายแดนภาคเหนือ ได้สรุปผลการปฎิบัติการ ด้านการปราบปราม สามารถยึดยาบ้าได้ 31,048,358 เม็ด, ไอซ์ 3,705 กิโลกรัม , เฮโรอีน 39.1 กิโลกรัม และสามารถจับกุมผู้ต้องหาได้ทั้งหมด 784 คน ด้านการป้องกันได้มีการทำโครงการประชารัฐร่วมใจปลอดภัยยาเสพติดปี 2561 และโครงการไทยนิยมยั่งยืน โดยได้มีการสร้างภูมิคุ้มกันและการป้องกันยาเสพติดแก่เยาวชนในสถานศึกษาต่างๆ จำนวน 8,845 แห่ง และได้ทำโครงการป้องกันการแพร่ระบาดในพื้นที่ตอนในและพื้นที่ชายแดนตามแนวทางประชารัฐร่วมใจปลอดภัยยาเสพติด ส่วนด้านบำบัดรักษาสามารถบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติดได้มากถึง 7,854 คน

พลโท วิจักขฐ์ สิริบรรสพ แม่ทัพภาคที่ 3 เปิดเผยว่า สถานการณ์ยาเสพติดในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคเหนือประกอบด้วย จ.เชียงใหม่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน นั้นการจับกุมยาเสพติดในปี 2560 มีเพิ่มมากขึ้นจากปี 2560 หลายเท่าตัว สาเหตุเพราะความต้องการในประเทศมีสูงขึ้นทำให้ยาเสพติดทะลักเข้ามามากขึ้น โดยแหล่งยาเสพติดในประเทศเพื่อนบ้าน ยังคงผลิตยาเสพติดประเภทยาบ้า , ไอซ์ และเฮโรอีน ได้จำนวนเพิ่มมากขึ้นสาเหตุเนื่องมาจากสารเคมีตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดบางประเภทยังถูกกฎหมายอยู่ในประเทศไทย จึงได้มีการนำสารเหล่านี้ลักลอบขนส่งเข้าไปยังแหล่งผลิตยาเสพติดโดยผ่านทางแนวตะเข็บชายแดน

โดยแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อจากนี้ จะทำหนังสือถึง พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้ปรึกษากับกระทรวงอุตสาหกรรม หาแนวทางในการควบคุมสารตั้งต้นยกตัวอย่างเช่น สารโซเดียมไซยาไนด์และสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และจะประสานทาง ปปส. เพื่อกวดขันจับกุมต่อไป

นอกจากนี้ ยังอีกปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขคือการสกัดกั้นเส้นทางการเงินของแก๊งค้ายาเสพติด ที่ยังมีช่องโหว่อยู่แก๊งค้ายาเสพติดยังสามารถขนลำเลียงเงินจากการค้ายาเสพติดออกไปได้ ต่อจากนี้จะมีการประชุมหาแนวทางร่วมกันอีกครั้งเพื่อปิดช่องโหว่และยับยั้งเส้นทางการเงินของแก๊งค้ายาเสพติด เพื่อเป็นการตัดวงจรการเงินของแก๊งค้ายาเสพติดเหล่านี้

แม่ทัพภาคที่ 3 ยังกล่าวถึงแนวทางการประสานงานกับกองทัพของประเทศเพื่อนบ้านในการจับกุมพ่อค้ายาเสพติดที่มีอยู่ในบัญชีรายชื่อของทางการไทยว่า จะมีการทำหนังสือในฐานะประธานคณะกรรมการชายแดนไทย – เมียนมา หรืออาร์บีซี ฝ่ายไทยไปถึงพลตรี อ่อง ส่อ เล ผู้บัญชาการภาคทหาร พื้นที่สามเหลี่ยม กองทัพเมียนมา เพื่อให้ช่วยเหลือในการจับกุมและส่งตัวพ่อค้ายาเสพติดเหล่านี้มาดำเนินคดีในประเทศไทย

ด้าน นายนิยม​ เติมศรีสุข​ ที่ปรึกษาการป้องกันและปราบปราม​ยาเสพติด​​ กล่าวถึงการปฎิบัติงานของ ปปส.ว่า ในขณะนี้ ปปส.จะทำงานโดยมองในทุกมิติ ทั้งในเรื่องขอกการสกัดกั้นยาเสพติด ป้องกันและปราบปราม และในส่วนของการบำบัดรักษา เราต้องทำควบคู่กันไป เราไม่สามารถทำเฉพาะมิติใดมิตินึงไม่ได้ ส่วนการทำงานแบบภาคีซึ่งมีทั้งฝ่ายทหาร ฝ่ายปกครอง และเจ้าหน้าที่ตำรวจ ประสอบความสำเร็จเป็นอย่างมากในรอบปีที่ผ่านมา

แหล่งข่าวจาก – นกยุง กิจการพลเรือนทหารกองทัพภาค 3

 ณฐพัชร์ อภิโชคกุล หัวหน้าสำนักข่าวเบาะแสภาคเหนือ  บก.เจี๊ยบแม่สายนิวส์ออนไลน์  /////  รายงาน  /////

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *