ฝนตกหนักเขื่อนในลาวใต้แตก อยู่ติดชายแดนไทย ชาวบ้านสูญหายหลายร้อยชีวิต เผยบริษัทไทยร่วมลงทุน 4 แบ็งค์ใหญ่ปล่อยกู้

เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2561 สื่อออนไลน์หลายสำนักในกัมพูชาและลาวรายงานข่าวว่า เขื่อนเซน้ำน้อยทางตอนใต้ของลาว ได้แตกและทำให้ปริมาณน้ำมหาศาลไหลทะลักเข้าไปท่วมบ้านเรือนของชาวบ้านในเขตเมืองสนามไซย แขวงอัตตะปือ โดยมีผู้สูญหายหลายร้อยรายและแต่ยังไม่สามารถประเมินความเสียหายได้ ขณะเดียวกัน สำนักข่าวเอบีซีของทางการลาวระบุว่า นับแต่เวลา 18.00 น.ของวันที่ 23 /7/2018 ได้เกิดสภาพอุบัติเหตุของโครงการก่อสร้างเขื่อนไฟฟ้าเซเปียน เซน้ำน้อย(ตามแจ้งการของบริษัทเลขที่ PNPC -130/2018 ลงวันที่ 23/7/2018)

ทำให้น้ำจากเขื่อนไหลทะลุลงมาตามร่องน้ำเซเปียน เมืองสนามไซ แขวงอัตตะปือ อันได้ทำความเสียหายให้แก่ชีวิต และทรัพย์สืนของประชาชาชนอย่างหนักหน่วง ตั้งแต่เวลา 20.00 น. ของวันที่ 23/7/2018 หนังสือระบุว่า จนมาถึงปัจจุบันนับตั้งแต่ได้รับแจ้งจากบริษัทที่เกี่ยวข้อง คณะพรรค อำนาจการปกครองทุกขั้นพร้อมด้วยพนักงาน ทหาร ตำรวจและประชาชนบรรดาเผ่าในทั่วแขวง ก็ได้ร่วมกันกอบกู้จนสุดความสามารถ แต่ก็เป็นเหตุสุดวิสัยดังนั้นในนามคณะรับผิดของแก้ไขภัยพิบัติฉุกเฉินครั้งนี้จึงเสนอมายังบรรดาองค์การจัดตั้งพรรค -รัฐ ภาคธุรกิจ พนักงาน ทหาร ตำรวนและประชาชนบรรดาเผ่า และเขื่อนมิตรสหายผู้อยู่ใกล้และอยู่ไกล เพื่อขอการช่วยเหลือรีบด่วนในครั้งนี้ เบื้องต้น : เครื่องนุ่งห่ม อาหาร น้ำท่วม ยารักษาโรค สิ่งของ เงินและอื่นๆทเาที่จะสามารถช่วยเหลือได้ สำหรับผู้ที่ประสงค์อยากช่วยเหลือในการแก้ไขบรรเทาทุกในครั้งนี้ สามารถช่วยเหลือด้วยตัวเองโดยประสานมายังห้องว่าการแขวง ทั้งนี้โครงการเขื่อนไฟฟ้าเซเปียน เซน้ำน้อย ดำเนินการโดยบริษัท ไฟฟ้า เซเปียน-เซน้ำน้อย จำกัด เป็นการร่วมทุนของบริษัทข้ามชาติชั้นนำ 4 แห่ง ประกอบด้วย บริษัท SK Engineering and Construction จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 26 บริษัท Korea Western Power จำกัด ถือหุ้นร้อยละ 25 บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 25 และ Lao Holding State Enterprise ถือหุ้นร้อยละ 24 โครงการนี้ก่อสร้างบนที่ราบสูงบอละเวน ในแขวงจำปาสักและแขวงอัตตะปือในลาว ใกล้ๆกับชายแดนไทย ห่างจากเมืองปากเซประมาณ 80 กิโลเมตร โดยใช้เงินลงทุนโดยการกูู้เงินมูลค่า 22,000 ล้านบาท เป็นสินเชื่อร่วม (Syndication loan)ของสถาบันการเงินไทยชั้นนำ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยาและธนาคารธนชาติ โครงการเขื่อนเซเปียน เซน้ำน้อยนี้ เป็นโครงการแบบ BOT (build-operate-transfer)มีกำลังการผลิต410 เมกะวัตต์ ซึ่งกระแสไฟฟ้า 370 เมกะวัตต์ จะจำหน่ายให้กับ กฟผ. โดยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 27 ปี ส่วนกำลังการผลิตที่เหลือจะผลิตไฟฟ้าจำหน่ายรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าภายใน สปป. ลาว ซึ่งมีกำหนดเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี พ.ศ. 2561

ขอขอบคุณแหล่งข่าวจาก – สำนักข่าวชายขอบ : http://transbordernews.in.th/home/?p=19216 .

Loading

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *