วันที่ 1 มีนาคม 2561 นายกฤษฏา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิด ปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้งประจำปี 2561 สนามบินนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมี นายธนาคม จงจิระ ผวจ.นครสวรร์ พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ พนักงาน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชน ร่วมพิธีเปิด ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อป้องกันและแก้ไขภัยแล้ง ให้แก่เกษตรกรและผู้ใช้น้ำทั้งประเทศ รวมถึงการเพิ่ม ปริมาณน้ำต้นทุนให้กับระบบบริหารจัดการน้ำของประเทศ โดยมีแผนปฏิบัติการประจำปี ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึงวันที่ 31 ตุลาคม ของทุกปี ภายใต้การดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ 4 ยุทธศาสตร์ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งและบรรเทาภัยพิบัติเชิงพื้นที่
การเพิ่มประสิทธิภาพการตัดแปรสภาพอากาศ การเพิ่มขีดความสามารถการบริการจัดการด้านการบิน และการพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่งในปี 2561 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เตรียมจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 5 ภูมิภาคทั่วประเทศ จำนวน 7 หน่วยปฏิบัติการ ได้แก่ภาคเหนือจำนวน 2 หน่วย คือ หน่วยปฏิบัติการ ฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่
หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก , ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1 หน่วย คือหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดขอนแก่น , ภาคกลาง จำนวน 2 หน่วย คือหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครสวรรค์ – หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดกาญจนบุรี , ภาคตะวันออก จำนวน 1 หน่วย คือ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จังหวัดจันทบุรี , ภาคใต้ จำนวน 1 หน่วย คือหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงหัวหิน ซึ่งทั้งหมดจะเริ่มปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2561 เป็นต้นไป
นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า นอกจากนั้นการปฏิบัติการฝนหลวง ยังมีความร่วมมือจากหน่วยงานร่วมบูรณาการที่เกี่ยวข้องด้วย อาทิบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สนับสนุนน้ำแข็งแห้ง ในการปฏิบัติการฝนหลวง กรมชล
ประทานและกรมป่าไม้ เรื่องบริหารจัดการน้ำและการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การวิจัยพัฒนาจรวดดัดแปลงสภาพอากาศ กับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ดำเนินโครงการอากาศยานไร้คนขับ UAV กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัย เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง กับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง การดำเนินงานเกี่ยวกับเทคโนโลยี ที่ใช้สนับสนุนการปฏิบัติการฝนหลวงเกี่ยวกับการดัดแปลงสภาพอากาศ โดยพลุสารดูดความชื้น และพลุสารซิลเวอร์ ไอโอไดร์ กับกองทัพอากาศ และการวิจัยสารฝนหลวงทางเลือก กับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย เป็นต้น
แหล่งข่าวจาก – โกดำ คมชัด AEC TV ออนไลน์
ทีมข่าวแม่สายนิวส์ออนไลน์ //// รายงาน //////////